วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน เดือน ปี  18 ธันวาคม  2556

เวลาเข้าสอน 08.30  อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น

    

       วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุมเลยหยุดให้นักศึกษาอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบกลางภาค


วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   11  ธันวาคม  2556      ครั้งที่ 6

เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30     เวลาเลิกเรียน   12.20 น.



 วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากทางคณะศึกษาศาสตร์ได้จัดกิจกรรมกีฬาสี

คณะสีน้ำเงินสู้ๆ 

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   4  ธันวาคม  2556      ครั้งที่ 5
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30     เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


       การเรียนการสอนวันนี้ ทุกกลุ่มได้ออกมาแก้ตัวเพื่อนำเสนองานใหม่ โดยทุกกลุ่มได้นำเกมที่เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ได้มาให้เด็กๆเล่น ทุกกลุ่มนำเสนอเกมได้ดีแตกต่างกัน บางกลุ่มก็อธิบายไม่ค่อยจะเข้าใจเท่าไหร่

กลุ่ม พีชคณิต
 มีเกมให้เด็กๆได้เล่น คือ ให้เด็กบอกว่าจากภาพที่เห็นมีจำนวนเลขอยู่ แต่มีเลขใดที่หายไปแล้วให้เด็กๆได้หาคำตอบโดยมีตัวเลือกให้เด็กเลือก และยังมีภาพรูปทรง ภาพผลไม้ที่หายไปให้เด็กได้หาคำตอบด้วย

  


กลุ่ม ความน่าจะเป็น
 - เกม การสุ่มหยิบลูกปิงปอง คือจะมีลูกปิงปอง 3 ลูก 3 สี คือ น้ำเงิน ขาว ส้ม อยู่ในกล่อง แล้วเมื่อหยิบลูกปิงปองออกมาหนึ่งลูก ความน่าจะเป็น คือ อาจได้ลูกปิงปองสีขาว หรือสีน้ำเงิน หรือสีส้มก็ได้
- เกม โยนเหรียญ หัว ก้อย คือมีเหรียญอยู่สองเหรียญเมื่อโยนแล้ว ความน่าจะเป็นคือ ด้านที่พลิกอาจจะเป็น หัว 2 เหรียญ หรือ ก้อย 2 เหรียญ  หรือ หัว1 เหรียญและก้อย 1 เหรียญ
- เกม หยิบสี คือจะมีสีสามแท่งแล้วสุ่มหยิบออกมาหนึ่งแท่ง ความน่าจะเป็น อาจจะหยิบได้ สีเขียว แดง หรือส้มก็ได้



กลุ่ม การวัด
 - เกมวัดความยาว คือจะให้เด็กเปรียบเทียบความสูงของสัตว์ ปลา หนอน และยีราฟ โดยเรียงจากตัวที่สูงมาหาตัวที่ต่ำ  เรียงจากเล็กไปใหญ่
 - เกมเรียงมังคุด มีมังคุด 2 ผล แล้วให้เด็กบอกว่าลูกไหนใหญ่ ลูกไหนเล็ก หรือ ลูกไหนหนัก ลูกไหนเบา
- เกมวัดปริมาณน้ำในแก้ว มีแก้วน้ำ 3 แก้ว แล้วให้เด็กบอกวาแก้วไหนมีปริมาณน้ำเยอะสุด
- เกมวัดความสูงของดินสอ จะมีดินสอยาว 1 แท่ง และดินสอที่สั้น 1 แท่ง แล้วจะให้เด็กนำดินสอแท่งเล็กมาวัดว่าต้องใช้กี่แท่งจึงจะเท่าดินสอยาว 1 แท่ง
- เกมวัดความสูงของตุ๊กตา ตัวไหนมีขนาดใหญ่ เล็ก หรือ ตัวไหนสูง ต่ำ





กลุ่ม จำนวนและการดำเนินการ

 - เริ่มต้นโดยการร้อเพลง ออกกำลังกาย
                กระโดดขึ้น ส่ายตัวไปเราหมุนตัวไปรอบๆ 
                ชูมือซ้าย ชูมือขวา แล้วปรบมือพร้อมกัน
               ชูมือขวา ชูมือซ้าย โค้งคำนับให้กัน
  - มีกิจกรรมที่ให้เด็กได้ร่วมทำ คือ หาหัวให้สัตว์
  - เกมเปรียบเทียบรูปผลไม้ที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้เด็กบอกลูกไหนใหญ่ เล็ก หรือ ลูกไหนหนัก เบา






กลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต

กลุ่มของเราเอง มีกิจกรรมมาให้เด็กๆทำหลายอย่าง เริ่มแรกจะชักชวนให้เด็กได้เป็นคนคิดเองว่าส่วนไหนของร่างกายเราสามารถทำให้เป็นรูปทรงได้ และมีกิจกรรมเกมให้เด็กเล่น คือ
- จะมีรูปทรงต่างๆให้ดูแล้วให้เด็กบอกว่ารูปสี่เหลี่ยมจะทำให้เป็นรูปอะไรได้บ้าง
- มีเกมต่อจิ๊กซอร์รูปทรงต่างๆ






  
  พอท้ายคาบก็มีกิจกรรมให้ทำเช่นเคย ในคาบนี้ได้ทำดอกไม้กัน กติกาคล้ายๆกับให้วาดรูปสัตว์ คือ ให้เลือกเลขที่เราชอบเขียนไว้กลางวงกลมแล้วให้ใส่กลีบดอกไม้ตามเลขที่เขียนไว้ บางคนก็ใส่จำนวนเลขน้อย บางคนก็ใส่เยอะ แต่ของเราเองชอบเลข 8เลยได้ใส่กลีบดอก8 กลีบ

ประโยชน์ที่ได้ / การนำไปใช้
 - จากกิจกรรมของแต่ละกลุ่มนำมาเสนอสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันหรืออนาคตได้
-  เด็กได้เรียนรู้ การนับจำนวน รูปทรง การวัด และอื่นๆที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 8.30 น   เวลาเลิกเรียน 12.20 น


     การเรียนการสอนในวันนี้ แต่ละกลุ่มต้องออกมานำเสนองานในหัวข้อที่ได้รับผิดชอบ มีอยู่ 5 หัวข้อ คือ จำนวนและการดำเนินการ  รูปทรงเรขาคณิต  การวัด  พีชคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น โดยแต่ละกลุ่มที่ออกมานำเสนองานจะมีเพื่อนๆเป็นผู้ประเมิน ซึ่งบางกลุ่มที่ออกมานำเสนอทำได้ไม่เต็มที่ อาจารย์เลยเปิดโอกาสให้นำเสนอใหม่ได้ โดยทุกกลุ่มก็พร้อมใจกันที่จะนำเสนอใหม่


กลุ่มที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี

     มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี

     มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี

    มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม






กลุ่มที่ 2 รูปทรงเรขาคณิต


รูป เรขาคณิต หมายถึง รูปต่างๆ ทางเรขาคณิต เช่น
รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม

รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม

รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม

รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม

รูปแปดเหลี่ยม มีด้าน 8 ด้าน มีมุม 8 มุม

รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลม และห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่ากัน

รูปวงรี มีเส้นเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไม่เท่ากัน



รูปทรง เรขาคณิตรูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปที่มีส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนสูง และส่วนลึก หรือหนา

รูปทรงกลม


รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก


 รูปทรงกระบอก





กลุ่มที่ 3 การวัด

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี
    มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี

 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา


คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5  ปี

 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถเรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร



กลุ่มที่ 4 พีชคณิต

  พีชคณิต คือ  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย
   แบบรูป หรือ บางครั้งเรียกว่า อนุกรมคือชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มี ความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด  ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดา หรือ คาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต  รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไป คืออะไร




กลุ่มที่ 5 ความน่าจะเป็น

การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  -เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
-ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
-ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
    
     ความน่าจะเป็น  หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข   ( 0 ถึง 1 )   ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก
ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไป
ประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน
        ในการทดลองหรือการกระทำใดๆที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่แน่นอนหรือผลลัพธ์  มากกว่าหนึ่งผลลัพธ์ เรียกว่า การทดลองสุ่ม
        ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและอภิปรายประเด็นต่าง ๆจากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้
    




ประโยชน์ที่ได้รับ / การนำไปใช้

-   ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ควรให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เช่น เมื่อครูต้องการให้เด็กรู้จักจำนวนเลข 5 ครูควรให้เด็กเป็นคนตอบ และให้เด็กเป็นคนหาเลข 5 เอง โดยไม่บอกเด็ก

-  ในการทำกิจกรรม ครูอาจใช้ของจริงมาให้เด็กได้ดู ได้สัมผัส เช่น การวัด ครูอาจนำตลับเมตรมาให้เด็กได้ลองใช้วัดระยะทาง หรือนำไม้บรรทัดมาวัดความยาว ความสูง 

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                        วัน/เดือน/ปี   20  พฤศจิกายน  2556      ครั้งที่ 3
                                         เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

      
          การเรียนการสอนวันนี้ เริ่มต้นด้วยเนื้อหาและจบด้วยกิจกรรมการวาดรูป คือวาดรูปสถานที่ ที่เราผ่านก่อนจะถึงห้องเรียน 3 สถานที่ ก่อนที่จะถึงห้องก็ผ่านมาหลายที่มากแต่ก็เลือกจุดที่เด่นๆ คือ จุดแรกผ่านโลตัส จุดสองผ่านประตู 3 ประตูหลังมอ จุดสามจุดสุดท้ายผ่านหอนาฬิกาใหญ่ และก็ขึ้นตึก 4 เข้าห้องเรียน จากกิจกรรมที่ทำก็ได้ทักษะในด้านคณิตศาสตร์ไปหลายอย่าง คือ ได้เรื่องการวัดระยะทาง การนับ การสังเกต การเปรียบเทียบ และเรื่องอื่นๆ


จุดม่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น การรู้จักศัพท์
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น  การบวก  ลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1 การสังเกต  (Observation)
-การใช้ประสาทสัมผัสรวมกันในการเรียนรู้
-เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

2 การจำแนกประเภท (Classifying)
-การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเหตุการณ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขั้น
-เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

3 การเปรียบเทียบ (Comparing)
-เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของ วัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
-เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพา ของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

4 การจัดลำดับ (Ordering)
-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
-การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5 การวัด (Measuremwnt)
-มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
-การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ

* การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช่ หน่วยมาตรฐานในการวัดการวัดของเด็กปฐมวัยเปรียบเทียบ โดยการเอาสิ่งของต่างๆ มาต่อกัน  เช่น  ไม้บรรทัด  ดินสอ  การก้าวขา การกางแขนของเด็ก  เป็นต้น

6 การนับ (Counting)
-เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
-การนับแบบท่องจำนี้ จะมีความหมายต่อเมื่อ  เชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7 รูปทรงและขนาด (Shar  and  size)
-เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
      ตัวเลข -  น้อย  มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด
     ขนาด-  ใหญ่     ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย
     รูปร่าง-  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม
    ที่ตั้ง-  บน  ต่ำ  ขวา  สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง
    ค่าของเงิน-  สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท
   ความเร็ว-   เร็ว   ช้า   เดิน   วิ่ง   คลาน
  อุณหภูมิ-  เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด


สถานที่ ที่ผ่านก่อนจะถึงห้องเรียน

ประโยชน์ที่ได้รับ / การนำไปใช้

-  เด็กสามารถเรียนรู้การสังเกตได้จากการเดินทางไปโรงเรียน หรือ เดินทางไปสถานที่ต่างๆได้ ว่าในการเดินทางเราผ่านอะไรบ้าง เห็นอะไรบ้าง เมื่อเราเจอบ่อยๆเราก็จะเกิดการจำ
-  เด็กสามารถเรียนรู้เรื่องการวัดระยะทางได้เมื่อเด็กเดินทางมาโรงเรียน เด็กจะใช้การวัดโดยจะบอกว่าก่อนจะถึงโรงเรียนเด็กผ่านบ้านมากี่หลัง นอกจากนั้นเด็กยังได้เรื่องของการนับด้วย

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน เดือน ปี  13 ตุลาคม 2556
เวลาเข้าสอน 08.30  อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20

         การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สอนเนื้อหาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  พอท้ายคาบอาจารย์ก็มีกิจกรรมสนุกๆให้ทำ คือ ให้วาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขาเยอะๆ ทุกคนต่างก็คิดว่าจะวาดรูปอะไรดีที่มีขาเยอะ ก็มีหลายคนที่คิดวาดรูปกิ้งกือ เพราะมันมีขาเยอะ ทีแรกเราก็วาดกิ้งกือเหมือนกัน พอคิดไปคิดมา เปลี่ยนรูปดีกว่าเลยหันมาวาดรูปสุนัข พอทุกคนวาดเสร็จเท่านั้นแหล่ะ อาจารย์บอกให้ใส่รองเท้าให้กับสัตว์ที่เราวาด  เฮ้อ โล่งอกไปที ดีนะที่เปลี่ยนรูป ไม่งั้นได้นั่งใส่รองเท้าให้เจ้ากิ้งกือจนนับไม่ไหวแน่ๆ

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
      ความหมายของ คณิตศาสตร์ คือ ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ  โดยใช้ภาพลักษณ์การพูดการเขียนและเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนตัวเลข การคิดคำนวณหรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวนการวัดเรขาคณิต พีชคณิต หรือแบบรูปความสัมพันธ์

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์

ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget
   1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (sensorimotor stage) แรกเกิด-2ปี
- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
- สามารถจดจำสิ่งสิ่งต่างๆบอกคุณลักษณะของวัตถุได้
   2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preopera Tional Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี
- ใช้ภาษาแสดงความรู้ ความคิด
- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว
- เล่นบทบาทสมมุติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม
- เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด

การอนุรักษ์ (Conservation)
 เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
                - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
                - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
                - เรียงลำดับ
                - จับกลุ่ม

หลักการการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  - เปิดโอกาสให้เด็กไปพูดคุยอธิบาย และสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
  - ผสมผสานคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
  - ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  - ใช้คำถามปลายเปิด

 - ใช้เชื่อมโยงกับการใช้ในชีวิตประจำวัน

น้องหมา ใส่รองเท้าบูทสีเหลือง

ประโยชน์ที่ได้ / การนำไปใช้

- ได้ความรู้เรื่องคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
-  เรียนรู้การจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมที่้กี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
- จากการทำกิจกรรมวาดรูปสัตว์และใส่รองเท้าให้สัตว์ก็สอนในเรื่องของการนับ คือ เด็กได้นับจำนวนขาของสัตว์ที่วาดเพื่อจะใส่รองเท้าให้มัน

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 6  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556

เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


     
      การเรียนในคาบแรกไม่มีอะไรมากมาย  อาจารย์ได้ตั้งข้อตกลงในการเรียน และ ให้ทำ Mind map สรุปความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับ วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  







ประโยชน์ที่ได้ / การนำไปใช้

-  ได้รูว่าตัวเราเองมีพื้นฐานความรู้เรื่องคณิศาสตร์สำหรับเด็กมากน้อยเพียงใด
-  เมื่อมีความรู้เรื่องคณิตศาสตร์แล้วเราจะนำไปจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้เด็กได้