วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤน แจ่มถิน
เวลาเข้าเรียน 8.30 น   เวลาเลิกเรียน 12.20 น


     การเรียนการสอนในวันนี้ แต่ละกลุ่มต้องออกมานำเสนองานในหัวข้อที่ได้รับผิดชอบ มีอยู่ 5 หัวข้อ คือ จำนวนและการดำเนินการ  รูปทรงเรขาคณิต  การวัด  พีชคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น โดยแต่ละกลุ่มที่ออกมานำเสนองานจะมีเพื่อนๆเป็นผู้ประเมิน ซึ่งบางกลุ่มที่ออกมานำเสนอทำได้ไม่เต็มที่ อาจารย์เลยเปิดโอกาสให้นำเสนอใหม่ได้ โดยทุกกลุ่มก็พร้อมใจกันที่จะนำเสนอใหม่


กลุ่มที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี

     มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี

     มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี

    มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม






กลุ่มที่ 2 รูปทรงเรขาคณิต


รูป เรขาคณิต หมายถึง รูปต่างๆ ทางเรขาคณิต เช่น
รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม

รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม

รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม

รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม

รูปแปดเหลี่ยม มีด้าน 8 ด้าน มีมุม 8 มุม

รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลม และห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่ากัน

รูปวงรี มีเส้นเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไม่เท่ากัน



รูปทรง เรขาคณิตรูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปที่มีส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนสูง และส่วนลึก หรือหนา

รูปทรงกลม


รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก


 รูปทรงกระบอก





กลุ่มที่ 3 การวัด

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี
    มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี

 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา


คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5  ปี

 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถเรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร



กลุ่มที่ 4 พีชคณิต

  พีชคณิต คือ  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย
   แบบรูป หรือ บางครั้งเรียกว่า อนุกรมคือชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มี ความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด  ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดา หรือ คาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต  รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไป คืออะไร




กลุ่มที่ 5 ความน่าจะเป็น

การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  -เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
-ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
-ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
    
     ความน่าจะเป็น  หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข   ( 0 ถึง 1 )   ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก
ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไป
ประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน
        ในการทดลองหรือการกระทำใดๆที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่แน่นอนหรือผลลัพธ์  มากกว่าหนึ่งผลลัพธ์ เรียกว่า การทดลองสุ่ม
        ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและอภิปรายประเด็นต่าง ๆจากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้
    




ประโยชน์ที่ได้รับ / การนำไปใช้

-   ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ควรให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เช่น เมื่อครูต้องการให้เด็กรู้จักจำนวนเลข 5 ครูควรให้เด็กเป็นคนตอบ และให้เด็กเป็นคนหาเลข 5 เอง โดยไม่บอกเด็ก

-  ในการทำกิจกรรม ครูอาจใช้ของจริงมาให้เด็กได้ดู ได้สัมผัส เช่น การวัด ครูอาจนำตลับเมตรมาให้เด็กได้ลองใช้วัดระยะทาง หรือนำไม้บรรทัดมาวัดความยาว ความสูง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น