วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                        วัน/เดือน/ปี   20  พฤศจิกายน  2556      ครั้งที่ 3
                                         เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

      
          การเรียนการสอนวันนี้ เริ่มต้นด้วยเนื้อหาและจบด้วยกิจกรรมการวาดรูป คือวาดรูปสถานที่ ที่เราผ่านก่อนจะถึงห้องเรียน 3 สถานที่ ก่อนที่จะถึงห้องก็ผ่านมาหลายที่มากแต่ก็เลือกจุดที่เด่นๆ คือ จุดแรกผ่านโลตัส จุดสองผ่านประตู 3 ประตูหลังมอ จุดสามจุดสุดท้ายผ่านหอนาฬิกาใหญ่ และก็ขึ้นตึก 4 เข้าห้องเรียน จากกิจกรรมที่ทำก็ได้ทักษะในด้านคณิตศาสตร์ไปหลายอย่าง คือ ได้เรื่องการวัดระยะทาง การนับ การสังเกต การเปรียบเทียบ และเรื่องอื่นๆ


จุดม่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น การรู้จักศัพท์
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น  การบวก  ลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1 การสังเกต  (Observation)
-การใช้ประสาทสัมผัสรวมกันในการเรียนรู้
-เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

2 การจำแนกประเภท (Classifying)
-การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเหตุการณ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขั้น
-เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

3 การเปรียบเทียบ (Comparing)
-เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของ วัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
-เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพา ของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

4 การจัดลำดับ (Ordering)
-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
-การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5 การวัด (Measuremwnt)
-มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
-การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ

* การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช่ หน่วยมาตรฐานในการวัดการวัดของเด็กปฐมวัยเปรียบเทียบ โดยการเอาสิ่งของต่างๆ มาต่อกัน  เช่น  ไม้บรรทัด  ดินสอ  การก้าวขา การกางแขนของเด็ก  เป็นต้น

6 การนับ (Counting)
-เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
-การนับแบบท่องจำนี้ จะมีความหมายต่อเมื่อ  เชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7 รูปทรงและขนาด (Shar  and  size)
-เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
      ตัวเลข -  น้อย  มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด
     ขนาด-  ใหญ่     ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย
     รูปร่าง-  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม
    ที่ตั้ง-  บน  ต่ำ  ขวา  สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง
    ค่าของเงิน-  สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท
   ความเร็ว-   เร็ว   ช้า   เดิน   วิ่ง   คลาน
  อุณหภูมิ-  เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด


สถานที่ ที่ผ่านก่อนจะถึงห้องเรียน

ประโยชน์ที่ได้รับ / การนำไปใช้

-  เด็กสามารถเรียนรู้การสังเกตได้จากการเดินทางไปโรงเรียน หรือ เดินทางไปสถานที่ต่างๆได้ ว่าในการเดินทางเราผ่านอะไรบ้าง เห็นอะไรบ้าง เมื่อเราเจอบ่อยๆเราก็จะเกิดการจำ
-  เด็กสามารถเรียนรู้เรื่องการวัดระยะทางได้เมื่อเด็กเดินทางมาโรงเรียน เด็กจะใช้การวัดโดยจะบอกว่าก่อนจะถึงโรงเรียนเด็กผ่านบ้านมากี่หลัง นอกจากนั้นเด็กยังได้เรื่องของการนับด้วย

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน เดือน ปี  13 ตุลาคม 2556
เวลาเข้าสอน 08.30  อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20

         การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สอนเนื้อหาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  พอท้ายคาบอาจารย์ก็มีกิจกรรมสนุกๆให้ทำ คือ ให้วาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขาเยอะๆ ทุกคนต่างก็คิดว่าจะวาดรูปอะไรดีที่มีขาเยอะ ก็มีหลายคนที่คิดวาดรูปกิ้งกือ เพราะมันมีขาเยอะ ทีแรกเราก็วาดกิ้งกือเหมือนกัน พอคิดไปคิดมา เปลี่ยนรูปดีกว่าเลยหันมาวาดรูปสุนัข พอทุกคนวาดเสร็จเท่านั้นแหล่ะ อาจารย์บอกให้ใส่รองเท้าให้กับสัตว์ที่เราวาด  เฮ้อ โล่งอกไปที ดีนะที่เปลี่ยนรูป ไม่งั้นได้นั่งใส่รองเท้าให้เจ้ากิ้งกือจนนับไม่ไหวแน่ๆ

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
      ความหมายของ คณิตศาสตร์ คือ ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ  โดยใช้ภาพลักษณ์การพูดการเขียนและเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนตัวเลข การคิดคำนวณหรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวนการวัดเรขาคณิต พีชคณิต หรือแบบรูปความสัมพันธ์

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์

ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget
   1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (sensorimotor stage) แรกเกิด-2ปี
- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
- สามารถจดจำสิ่งสิ่งต่างๆบอกคุณลักษณะของวัตถุได้
   2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preopera Tional Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี
- ใช้ภาษาแสดงความรู้ ความคิด
- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว
- เล่นบทบาทสมมุติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม
- เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด

การอนุรักษ์ (Conservation)
 เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
                - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
                - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
                - เรียงลำดับ
                - จับกลุ่ม

หลักการการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  - เปิดโอกาสให้เด็กไปพูดคุยอธิบาย และสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
  - ผสมผสานคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
  - ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  - ใช้คำถามปลายเปิด

 - ใช้เชื่อมโยงกับการใช้ในชีวิตประจำวัน

น้องหมา ใส่รองเท้าบูทสีเหลือง

ประโยชน์ที่ได้ / การนำไปใช้

- ได้ความรู้เรื่องคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
-  เรียนรู้การจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมที่้กี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
- จากการทำกิจกรรมวาดรูปสัตว์และใส่รองเท้าให้สัตว์ก็สอนในเรื่องของการนับ คือ เด็กได้นับจำนวนขาของสัตว์ที่วาดเพื่อจะใส่รองเท้าให้มัน

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 6  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556

เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


     
      การเรียนในคาบแรกไม่มีอะไรมากมาย  อาจารย์ได้ตั้งข้อตกลงในการเรียน และ ให้ทำ Mind map สรุปความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับ วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  







ประโยชน์ที่ได้ / การนำไปใช้

-  ได้รูว่าตัวเราเองมีพื้นฐานความรู้เรื่องคณิศาสตร์สำหรับเด็กมากน้อยเพียงใด
-  เมื่อมีความรู้เรื่องคณิตศาสตร์แล้วเราจะนำไปจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้เด็กได้